ชื่อผู้วิจัย:
อ.ดร.ปะการัง คำไกร, อ.ปิยนุช ยอดสมสวย, น.ส. ทรรศนีย์ บุญมั่น, น.วิทิต ร่วมเงิน, น.ส. ต่วนฮัฟเซาะห์ ต่วนเด็ง
Topic:
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสารมารถของตนเองกับพฤติกรรมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ใน รพ.สต.บ้านพระอาจารย์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรม
การควบคุมระดับน้าตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต้าบล
บึงพระอาจารย์ จ้านวน 115 คน โดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ความสามารถ
ของตนเอง และพฤติกรรมการควบคุมระดับน้าตาลในเลือด มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ
0.764 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อ
ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้ป่วย จ้านวน 6 คนโดยวิธีการสัมภาษณ์
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบอุปนัย ผลการศึกษา พบว่า คะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองและ
คะแนนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้าตาลในเลือดส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้การรับรู้
ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้าตาลในเลือดด้านการรับประทานอาหารและ
การออกก้าลังกายอยู่ในระดับต่้าในขณะที่ด้านการใช้ยาอยู่ในระดับสูง ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้
ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้าตาลในเลือดมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมี
นัยส้าคัญทางสถิติ (r=0.715) (p<0.001) ข้อมูลแต่ละด้านพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองด้าน
การรับประทานอาหารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่้ากับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างมี
นัยส้าคัญทางสถิติ (r= 0.472) (p<0.001) และการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการออกก้าลังกายมี
ความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมการออกก้าลังกายอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (r= 0.768)
(p<0.001) การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการใช้ยามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับ
พฤติกรรมการใช้ยาอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (r= 0.675) (p<0.001) ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้
ความสามารถของตนเอง ได้แก่ ประสบการณ์ของความส้าเร็จจากการลงมือกระท้า การใช้ค้าพูดชักจูง
และสภาวะทางด้านร่างกายและอารมณ์
ค้าส้าคัญ : เบาหวานชนิดที่ 2, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, พฤติกรรมการควบคุมระดับน้าตาลในเลือด